วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประเพณีไทย



จุดเริ่มต้นประเพณีวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาคในประเทศไทย ซึ้งตลอดระยะเวลาหลายร้อยปีได้ผ่านกระบวนการผสมผสานความเชื่อดั้งเดิม กับประเพณีวัฒนธรรมภายนอก จนตกผนึกกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละท้องถิ่นที่ยังคงถ่ายทอดความงดงามมา จวบจนปัจจุบัน 365 วันในรอบปี คุณคงไม่เชื่อว่าในประเทศไทย จะทำให้คุณสามารถเดินทางพบกับเรื่องราวของความหลากหลายทางวัฒนธรรมประเพณีไทย รวมทั้งกิจกรรม เทศกาลงานรื่นเริงต่างๆ ได้แต่เมื่อได้ไล่เรียงลองนับกะนเล่นๆ แค่เดือนมกราคมเดือนเเดียว ก็แทบไม่มีเวลาจะได้หยุดพักความสนุกสนาน ตั้งแต่วันขึ้นปีใหม่ ทุกภูมิภาคต่างจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ เรื่อยมาสู่วันปีใหม่ไทย สงกรานต์ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ หนุ่มสาวสาดน้ำลดความร้อนแรงของอาการศกลางเดือนเมษายน ช่วงกลางปีกระแสลมพัดแรงได้ที่ จับว่าวขึ้นมาลอยล่องอยู่บนอากาศพอช่วงหน้าฝน น้ำท่าบริบูรณ์ฝึกซ้อมเหล่าฝีพาย เพื่อร่วมชิงชัยในศึกเจ้าแห่งสายน้ำ และประเพณีที่มีความเกี่ยวเนื่องกับศาสนาเทศกาลงานบุญ ซึ้งล้วนฉายภาพแห่งควางดงามของวัฒนธรรม ประเพณีไทยที่โดดเด่น มีความเป็นมาที่ยาวนาน อีกทั้งมากด้วยเสน่ฆ์ ชวนให้ผู้คนจากทั่วทุกสารทิศให้หลงใหล เมื่อได้เข้ามาสัมผัสครั้งใด ก็ยิ่งสร้างควาประทับใจอยู่ทุกครั้งไป

ประเพณีสงกรานต์



       สงกรานต์ เป็นประเพณีของคนไทยที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน อันที่จริงไม่ใช่เฉพาะคนไทยในประเทศไทยเท่านั้น ที่ถือว่าประเพณีสงกรานต์มีความสำคัญ คนที่พูดภาษาตระกูลไท ก็ยึดถือปฏิบัติเช่นเดียวกัน เช่น ประเทศลาว คนไทยใหญ่ในประเทศพม่าที่ชายแดนติดกับภาคเหนือของไทย คนจีนที่พูดภาษาตระกูลไท ในแค้วนยูนนาน เป็นต้น
      สงกรานต์ เป็นคำที่ชาวบ้านทั่วไปนิยมใช้ แต่คำเต็ม ๆ คือ ตรุษสงกรานต์ ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียด ดังนี้
ตรุษ แปลว่า ตัด หรือ ขาด หมายถึง ตัดปี ขาดปี หรือสิ้นปี ดังนั้น ตรุษ จึงหมายถึงพิธีแสดงความยินดีที่ปีเก่าผ่านไป การมีชีวิตรอดมาตลอดปีได้ ก็มีการแสดงความยินดี คนไทยแต่ก่อนนับเดือน เมษายน เป็นเดือนสิ้นปี และเริ่มปีใหม่ พิธีทำบุญวันตรุษ จะทำ 3 วัน คือ เมื่อถึงเดือน 4 วันแรม 14 ค่ำ แรม 15 ค่ำ และวันขึ้น 1 ค่ำ ของเดือน 5 จะมีการนิมนต์พระมาสวด และมีการทำบุญ ถวายอาหารและขอพรจากพระ เพื่อเป็นสวัสดิมงคล สันนิฐานว่าคนไทยรับนับถือพุทธศาสนา เลยทำแบบอย่างพิธีทำบุญวันตรุษตามแบบอย่างของลังกามาด้วย
ส่วน สงกรานต์ แปลว่า การย้ายที่ หรือ เคลื่อนที่ หมายถึง พระอาทิตย์ย้ายที่หรือเคลื่อนเข้าสู่ราศีใหม่ ซึ่งก็หมายถึง การขึ้นปีใหม่นั่นเอง คนจึงแสดงความยินดีที่มีชีวิตยืนยาวย่างเข้าสู่ปีใหม่ จึงต้อนรับปีใหม่ วันปีใหม่จะเป็นวันที่ 13, 14, และ 15 เมษายนของทุกปี
วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เรียกว่า วันเนา และวันที่ 15 เรียกว่า วันเถลิงศก ทางภาคเหนือ เรียกต่างกันไปบ้าง แต่ก็เข้าใจง่ายดี ดังนี้ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันสังขารล่อง คงหมายถึง ร่ายกาย จิต วิญญาณเก่า ๆ ของปีเก่ากำลังผ่านพ้นไป วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเน่า ส่วนวันที่ 15 เมษายน เรียกว่า วันพญาวัน ซึ่งก็หมายถึงวันสำคัญวันแรกของปีใหม่นั่นเอง


        สงกรานต์เป็นประเพณีที่ชาวไทยทั่วประเทศปฏิบัติสืบต่อเป็นประเพณีมาช้านาน ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน จนถึงวันที่ 15 เมษายน ชาวบ้านจะทำบุญตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา และสรงน้ำพระทั้งพระพุทธรูป และพระสงฆ์ แล้วก็จะรดน้ำ มีการเล่นสาดน้ำและเล่นกีฬาพื้นบ้าน
ประเพณีปล่อยปลาถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพราะเดือนเมษายน เป็นหน้าแล้ง อากาศร้อนมาก น้ำแห้งขอด ปลาก็จะไปรวมกันอยู่ตามแหล่งน้ำเล็ก ๆ หากน้ำแห้งก็จะตาย เป็นเหยื่อของนก กา หรือสัตว์อื่น คนเห็นก็เมตตา นำไปปล่อยในแม่น้ำ พอถึงฤดูฝนปลาที่รอดตายก็กลับมาแพร่พันธุ์เป็นอาหารของคนได้อีก



ประเพณีบุญบั้งไฟ  จังหวัดยโสธร 

ประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร



           นิทานพื้นบ้านเล่าสืบต่อกันมา  ผาแดงนางไอ่  พระยาคันคาก  ล้วนกล่าวถึงการจุดบั้งไฟถวายแด่พญาแถน  เพื่อเป็นการขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล  หลาบสิบปีได้สืบทอดงานประเพณีบุญบั้งไฟ  ความสวยงามของการตกแต่งขบวนที่ยิ่งใหญ่  ควันสีขาวพุ่งทะยานไปตามบั้งไฟแสนที่ขึ้นสู่ท้องฟ้า  ตามมาด้วยเสียงดังสนั่น  และเสียงลุ้นของผู้คน  สุดเร้าได้ทุกครั้งไป”
เมื่อถึงเดือน ๖ ชาวอีสานจะมีการจัดงานประเพณีที่สำคัญ  หนึ่งในฮีตสิบสอง  จากความเชื่อในการบูชาพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล  พร้อมเข้าสู่การทำนาครั้งใหม่  และกล่าวกันว่าหากหมู่บ้านใด  ชุมชนไหน  มิได้จัดงานประเพณีนี้ขึ้นในปีนั้นๆ  ฝนก็จะไม่ตก  พื้นดินก็จะแห้งแล้งไม่สามารถทำการเพาะปลูกใดๆ ได้
เมื่อถึงวันงาน  ก่อนการประกวดประชันบั้งไฟประเภทต่างๆ  จะมีขบวนแห่บั้งไฟตกแต่งด้วยสีสันที่สวยงาม  ตามมาด้วยเสียงดนตรีบรรเลงให้จังหวะในการเซิ้งบั้งไฟ  เซิ้งกระติบ  ฟ้อนขาลาย  ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสาน  และอีกหนึ่งสีสัน  คือ  ขบวนแห่การแต่งกายล้อเลียนบุคคล  ผู้ชายบางคนสวมใส่ชุดหญิงสาวออกอากัปกิริยาอ่อนช้อย  สร้างเสียงหัวเราะ  และความสนุกสนานให้ผู้พบเห็น
การแข่งขันบั้งไฟของยโสธรมีการแบ่งเป็นประเภทแฟนซี  บั้งไฟขนาดเล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ นิ้ว  บรรจุดินประสิวไม่เกิน ๔ กิโลกรัม  เน้นที่ความสวยงาม  รวมทั้งลีลา  เมื่อจุดขึ้นฟ้าบางทีมอาจมีร่มหลากสีกางออก  หรือมีเสียงประกอบ  และประเภทบั้งไฟแสนซึ่งใช้แข่งขันกัน  โดยนับจากเวลาที่บั้งไฟขึ้นลอยอยู่บนท้องฟ้า  บั้งไฟของใครขึ้นนานที่สุด  สังเกตจากหางที่ตกลงสู่พื้นก็เท่ากับว่าขึ้นได้สูง  และได้รับชัยชนะในที่สุด
เมื่อถึงเวลาแข่งขัน  แต่ละทีมตระเตรียมความพร้อมก่อนจุดบั้งไฟให้ทะยานออกจากฐาน  พร้อมด้วยเสียงบั้งไฟแหวกอากาศที่แสดงถึงความเร็ว  ทิ้งควันสีขาวไปตามเส้นทางสู่ท้องฟ้า  ของใครยิ่งสูง  อยู่บนฟ้าได้นาน  ก็จะได้รับชัยชนะ  ส่วนทีมที่พ่ายแพ้  บั้งไฟระเบิด  หรือไม่ขึ้นก็ต้องถูกกระชากลากลงไปในบ่อโคลนเป็นที่สนุกสนาน  อันเป็นการสานความสามัคคีระหว่างชุมชน  และสร้างความประทับใจให้แก่ผู้เข้าร่วมงานทุกครั้งไป
                      วันเวลาการจัดงาน : ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี
   สถานที่จัดงาน ณ สวนสาธารณะพญาแถน  และเขตเทศบาลเมืองยโสธร






อ้างอิง: http://songkran.showded.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น